"ข้าวไรซ์เบอร์รี่" คือพันธุ์ข้าวที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวหอมนิลกับข้าวดอกมะลิ 105 จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้รับความร่วมมือระหว่างและคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ซึ่งร่วมกันวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา
ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์คือ มีลักษณะเฉพาะเป็นเมล็ดข้าวสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ประมาณ 7.0 มิลลิเมตร เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
การปลูกควรเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน มีความอุดมสมบรูณ์สูงของดินสูง และอยู่ห่างจากถนนสายหลักประมาณ 100 ถึง 200 เมตร เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ในการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะใช้วิธีปักดำต้นกล้า 20 วัน และทำการดำนาโดยใช้กล้าข้าว 1 ต้นต่อ 1 กอ เว้นระยะห่างระหว่างกอ 1 ไม้บรรทัด ในพื้นที่ 10 ไร่ ใช้พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ประมาณ 50 กิโลกรัม อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน (4เดือน)
ข้อจำกัดในการปลูก
สารอาหารและคุณค่าทางอาหารของข้าวไรซ์เบอร์รี่ขึ้นอยู่กับสีของเมล็ดข้าว การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางอาหารที่ดีที่สุดมีปัจจัยหลักคือ เรื่องของอุณหภูมิ โดยเฉพาะในระยะข้าวกำลังติดเมล็ด อุณหภูมิในตอนกลางวันควรอยู่ที่ 32 องศา และช่วงกลางคืนควรอยู่ที่ 22 องศาหรือต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีสีเข้มมากขึ้น
การเก็บรักษา
ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีวิธีการเก็บรักษาเหมือนข้าวสายพันธ์ทั่วไปของไทย ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ด้านในแห้ง สะอาด และมีฝาปิดมิดชิด
การรับประทานหรือการแปรรูป
สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการรับประทานข้าวกล้อง ควรเอาข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมกับข้าวขาวในอัตราส่วน 1:2 ไปก่อน เมื่อเกิดความเคยชินจึงค่อยเพิ่มปริมาณข้าวไรซ์เบอร์รี่และลดปริมาณข้าวข้าว การซาวน้ำควรซาวเพียงครั้งเดียวไม่ควรทำซ้ำเพราะจะทำให้คุณค่าทางอาหารหายไป และหลังจากซาวเสร็จแล้วควรรินน้ำออกให้หมด การหุงให้ใช้ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำสะอาด 1.5 ส่วน
ข้าวไรซ์เบอร์รี่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอยากหลากหลาย เช่น ชา กาแฟ เส้นขนมจีน ขนมครก ขนมปัง เบเกอรี่ ไอศกรีม และคุกกี้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น